กฏหมายและข้อกำหนดของภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวัตถุอันตราย

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ.2559

31 Mar 2018
แชร์ :




ไฟล์ต้นฉบับ:  http://www.dgtrans.co.th/login/ckfinder/userfiles/files/DOI_Insurance%202559.pdf

 (อ้างอิง : หน้า ๖ - หน้า ๗ เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๒ มกราคม ๒๕๖๐)

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

เรื่อง การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. ๒๕๓๕

และมาตรา ๒๐ () (/) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) .. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.. ๒๕๔๙  ลงวันที่ ๒๖ มกราคม พ.. ๒๕๔๙

 

ข้อ ๒ ในประกาศนี้

“วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ

ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา ๑๘

วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. ๒๕๓๕ เฉพาะบัญชี ๕.๑ บัญชี ๕.๔ และบัญชี ๕.๕

“การขนส่ง” หมายความว่า การขนส่งวัตถุอันตรายทางบกโดยใช้ภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย

ประเภทแท็งก์ และไม่รวมการขนส่งทางระบบราง

“แท็งก์” (Tank) หมายความว่า แท็งก์คอนเทนเนอร์ แท็งก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ แท็งก์ยึดติดไม่ถาวร หรือแท็งก์ยึดติดถาวร รวมทั้งแท็งก์ที่อยู่ในรถติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซแบบเรียงกันเป็นตับ

(Battery-Vehicles) หรือภาชนะบรรจุก๊าซแบบกลุ่ม (Multiple-element gas container: MEGC)

และให้หมายความรวมถึง ผนังแท็งก์ รวมทั้งอุปกรณ์ใช้งานและอุปกรณ์โครงสร้าง

“ผู้ขนส่ง” หมายความว่า บุคคลที่ทำการขนส่งวัตถุอันตราย

 

ข้อ ๓ ให้ผู้ขนส่งทำประกันความเสียหายโดยขอบเขตการคุ้มครองให้เริ่มต้นตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ดังต่อไปนี้

๓.๑ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุที่เกิดแก่บุคคลภายนอก จากการขนส่งวัตถุอันตราย โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนี้

(๑) ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.. ๒๕๓๕

(๒) ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ไม่น้อยกว่าสองล้านบาทสำหรับเหตุการณ์แต่ละครั้ง

๓.๒ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุทำให้เกิดการรั่วไหล การระเบิด หรือการติดไฟของวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งทุกกรณี สำหรับค่าใช้จ่ายในการขจัดเคลื่อนย้าย บำบัด บรรเทาความเสียหาย รวมทั้งการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม หรือสภาพที่ใกล้เคียงกับสภาพเดิม ซึ่งรวมถึงความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือทรัพย์ไม่มีเจ้าของ โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่าห้าล้านบาทสำหรับเหตุการณ์แต่ละครั้ง

 

ข้อ ๔ การประกันภัยตามข้อ ๓ ต้องเป็นการประกันภัยกับบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย

 

ข้อ ๕ ผู้ขนส่งต้องจัดเก็บสำเนากรมธรรม์ประกันภัยสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งไว้เป็นหลักฐานที่ตัวยานพาหนะนั้น เพื่อพร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ทั้งนี้ ผู้ขนส่งต้องจัดให้มีการประกันภัยตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ

 

ข้อ ๖ การชดใช้ค่าเสียหายตามประกาศนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดหรือความรับผิดตามกฎหมาย

 

ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๙

อรรชกา สีบุญเรือง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 

 


บทความและสาระน่ารู้ในการปฏิบัติงานขนส่ง


ข่าวสารและกิจกรรม


ข้อคิดและหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา


(คลิป) สาธิตขั้นตอนในการปฏิบัติงานขนส่ง


กฏหมายและข้อกำหนดของภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวัตถุอันตราย


วิดีโอแนะนำบริษัท




บริษัท ดี.จี.ทรานส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
D.G. Trans International Co., Ltd.

ติดต่อเรา

Tel : 080-067-5236
E-mail : marketing@dgtrans.co.th

168/22 หมู่3 ต.ปากคลองบางปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์
จ.สมุทรปราการ 10290
Copyright © 2017 All Rights Reserved. Designed By Golly-design